เรียนสายอาชีพ เรียนง่าย ตารางว่างเยอะ...!
.
เอาจริงดิ รู้ไหมว่าเด็กสายอาชีพต้องผ่านด่านอะไรบ้าง
.
1. เราต้องเรียนตามหลักสูตรฯ กำหนด ปวช. 103 นก. ปวส. 83 นก. เป็นอย่างน้อย ซึ่งตารางเรียนไม่ว่างเลย แน่นไม่รู้จะแน่นยังไง ถ้าจบ ม.6 มาเรียนต่อ ปวส. ต้องเรียนปรับพื้นฐานอีก เลิกทุ่มครึ่ง สองทุ่มคือเป็นเรื่องปกติเลยจ้า ว่างตรงไหนเอาปากกามาวง (อย่าปากเป็น)
.
2. เราต้องเข้าร่วมกิจกรรมเหมือน รร. ทั่วไป ทั้งเข้าแถว กิจกรรมกลาง ชมรมวิชาชีพ ปวช.มีลูกเสืออีก กิจกรรมมีทุกเทอมด้วย ตกกิจกรรมเทอมใดเทอมหนึ่งก็ไม่จบนะจ๊ะ ง่ายไหมล่ะ...
.
3. พวกเราต้องออกฝึกงานในสถานประกอบการ ถ้าระบบปกติก็เทอมเดียว ระบบทวิภาคก็ 1 ปี ลำพังฝึกงานไม่เท่าไหร่หรอก เรียนมาแล้วทำได้ แต่บางทีการเลือกที่ฝึกงานผิดชนิดก็เปลี่ยน แต่เราต้องอดทนไง มันเลือกแล้ว มันย้ายยาก มันกระทบไปหมด เดี๋ยวไม่จบพร้อมเพื่อน หลายคนเห็นเราย้ายที่ฝึกงาน ก็ว่าไม่อดทนบ้างล่ะ อ่อนแอบ้างล่ะ เอาจริง ๆ ปะ ที่ฝึกงานดี ๆ น่ะยอมรับนะ ถ้าโดนที่ฝึกงานแย่ เพื่อนร่วมงาน ปสด. งานหนักมาก ๆ อะไรก็ นศ.ฝึกงาน แบบนี้ นรกกะบ่ปานจ้า (แต่ถามว่าท้อไหม ไม่จ้ะ ซ้อมลงนรกไปพลางก่อน) เพราะถ้าไม่ผ่านฝึกงาน ก็ไม่จบแหมสู
.
4. วิจัยตัวร้ายกับคุณชายสายอาชีพ นอกจากเรียนทฤษฎี ฝึกปฏิบัติ เราต้องศึกษาค้นคว้างานวิจัยของตนเองในรายวิชา "โครงการ" หรือโปรจเจคต์อะไรทำนองนั้นแหละ เริ่มตั้งแต่ออกแบบคิดสร้างสรรค์ เขียนเสนอโครงการ เรียบเรียงรูปเล่ม 5 บท ตามกระบวนการวิจัย กลุ่มละ 2-3 คน ถ้าช่วยกันก็ทีมเวิร์ค ถ้ากลุ่มไม่ดีก็รับบทเดอะแบกจ้าาาาา นานาจิตตังเนาะ ทำคนเดียว ผ่านทุกคน งึดหลาย
.
5. แต่ถามว่าที่เขียนมา พวกเราท้อไหม ไม่จ้า เพราะมันคือกระบวนการฝึกฝนให้เรามีความรู้ในวิชาชีพ แต่แค่ไม่โอเคทืี่ชอบเปรียบเทียบกับสายสามัญว่ มันดีคนละแบบมั้ย เราเดินคนละสาย พัฒนาสังคมคนละเส้นทาง อย่าว่าเราเรียนง่าย สบายเลย มันมีมุมง่ายยากต่างกันเนาะ อย่าหาทำบาดนิ
.
โอเคบ่เหยง
.
Text : ครูนนท์
เพจ : ครูนนท์ - Krunon