บทเรียนออนไลน์
หัวข้อ "คำราชาศัพท์และระดับการใช้ภาษา"
แบบทดสอบออนไลน์อยู่ด้านล่าง
โดย นายอานนท์ ลีสีคำ ตำแหน่ง ครู
หมวดวิชาภาษาไทย แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี
โดย นายอานนท์ ลีสีคำ ตำแหน่ง ครู
หมวดวิชาภาษาไทย แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี
การสื่อสารของมนุษย์นอกจากจะเข้าใจการใช้คำให้ตรงกับความต้องการแล้ว ยังจะต้องใช้คำให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล โอกาส และกาลเทศะด้วย เช่น ในโอกาสงานพิธี ในที่ประชุมหรือในที่สาธารณะ สถานการณ์เหล่านี้ย่อมใช้ระดับภาษาที่แตกต่างกัน จึงควรทำความเข้าใจในเรื่องระดับของภาษา และใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ให้ถูกต้องเพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิผล
การแบ่งภาษาออกเป็นระดับต่าง ๆ นั้น อาจแบ่งได้หลายแขนงแนวทาง ดังนี้
ระดับที่เป็นทางการ (แบบแผน)
ระดับที่ไม่เป็นทางการ (ไม่เป็นแบบแผน)
ระดับพิธีการ (แบบแผน)
ระดับกึ่งพิธีการ (กึ่งแบบแผน)
ระดับไม่เป็นพิธีการ (ไม่เป็นแบบแผน)
ระดับพิธีการ
ระดับทางการ
ระดับกึ่งทางการ
ระดับไม่เป็นทางการ
ระดับกันเอง
เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร การกล่าวสดุดี การกล่าวปิดพิธี สารจะมีลักษณะเป็นพิธีรีตอง เป็นทางการ มีความจริงจังโดยตลอด ใช้ถ้อยคำที่เลือกเฟ้นแล้วว่าไพเราะ ก่อให้เกิดความรู้สึกจรรโลงใจเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ผู้กล่าวจึงมักเตรียมบทวาทนิพนธ์มาล่วงหน้าและใช้วิธีอ่านต่อหน้าที่ประชุม
เป็นภาษาที่ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุม หรือใช้เขียนข้อความที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างป็นการเป็นงาน หนังสือที่ใช้ติดต่อกันทางราชการ หรือความรู้ความคิดที่มีความสำคัญเป็นที่น่าสนใจ การใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมา เข้าสู่จุดประสงค์ที่ต้องการโดยรวดเร็วอาจจะมีศัพท์เทคนิคหรือศัพท์วิชาการ
คล้ายกับระดับทางการ แต่ลดความเป็นงานเป็นการลงบ้าง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร มักใช้ในการประชุมกลุ่มเล็กลงกว่าการประชุมภาษาระดับทางการ เช่น การประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในห้องเรียน ข่าว และบทความในหนังสือพิมพ์ สารมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ มักจะใช้ศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็น
ใช้ในการสนทนาโต้ตอบกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คน ในสถานที่และกาลที่ไม่ใช่ส่วนตัว เช่น การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าว และการเสนอบทความในหนังสือพิมพ์บางฉบับ สารมักเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ถ้อยคำสำนวนอาจมีถ้อยคำที่เคยใช้กันเฉพาะกลุ่มหรือเข้าใจความหมายตรงกันได้ในกลุ่มเท่านั้น
เป็นภาษาที่ใช้ในวงจำกัด เช่น ภาษาที่ใช้กันภายในครอบครัว ใช้กันระหว่างสามีภรรยา หรือใช้กันระหว่างเพื่อนสนิท สถานที่ที่ใช้มักเป็นที่ส่วนตัว สารไม่มีขอบเขตจำกัด ใช้ในการพูดจา ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักณ์อักษร ยกเว้น แต่ในนวนิยาย หรือเรื่องสั้นบางตอน เพื่อทำให้เรื่องสมจริงอาจมีคำคะนองที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม หรืออาจใช้คำภาษาถิ่น
๑.โอกาสและสถานที่ เช่น ภาษาที่ใช้สื่อสารกับบุคคลกลุ่มใหญ่หรือในที่ประชุมกับภาษาที่ใช้สื่อสารในตลาด ร้านค้า หรือสื่อสารพูดจากันที่บ้าน ก็จะใช้ภาษาต่างระดับกัน
๒. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล เช่น เป็นเพื่อนสนิท เป็นผู้ที่เพิ่งรู้จักกัน เป็นผู้ไม่เคยรู้จักกัน ฯลฯ สัมพันธภาพเหล่านี้เป็นปัจจัยกำหนดระดับภาษาแต่ต้องขึ้นกับโอกาสและสถานที่ด้วย
๓. ลักษณะของเนื้อหา เกี่ยวพันกับโอกาสในการสื่อสาร เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวก็ไม่ควรนำไปใช้ในโอกาสที่ต้องใช้ภาษาในระดับพิธีการหรือระดับทางการ
๔. สื่อที่ใช้ส่งสาร กรพูดคุบกันแบบซึ่งหน้าย่อมใช้ภาษาแตกต่างจากภาษาที่ใช้พูดทางโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์
อ้างอิง : เพลินใจ พฤกษชาติรัตน์ และ นันทพงษ์ พฤกษชาติรัตน์. (ม.ป.ป.). หลักภาษาไทยและการใช้ภาษาไทย. (ม.ป.ท.)
อ้างอิง : กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์. (๒๕๕๔). แบบเลียนภาษาไทยจากใจครูลิลลี่. กรุงเทพฯ : ณ เพชรสำนักพิมพ์.
คำว่า "ราชาศัพท์" มีความหมายว่า ศัพท์หรือถ้อยคำสำหรับพระราชา ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการ แต่โดยทั่วไป หมายถึง คำสุภาพที่ใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับฐานะหรือสถานภาพของบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ พระมหากษัตริย์(พระราชา) พระราชวงศ์ ข้าราชการ พระภิกษุ และสุภาพชนทั่วไป
ราชาศัพท์ คือ คำสุภาพไพเราะ หรือศัพท์ราชการที่ใช้ตามประเภทของบุคคล ๕ ประเภท คือ
๑. พระมหากษัตริย์
๒. เจ้านาย หมายถึง พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
๓. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
๔. ขุนนางมียศและข้าราชการ
๕. คนสุภาพ หมายถึง บุคคลทั่วไป
๑. ใช้เป็นคำราชาศัพท์ได้ทันที เช่น เสด็จ สวย ตรัส ประทาน พระราชทาน ผนวช ทูล ถวาย ประทับ บรรทม ประชวร สวรรคต พิโรธ เป็นต้น
๒. การใช้คำ "ทรง"
๒.๑ ใช้ ทรง นำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น
ทรงกีฬา (เล่นก็ฬา) ทรงธรรม (ฟังเทศน์)
ทรงบาตร (ใส่บาตร) ทรงช้าง (ขี่ช้าง)
๒.๒ ใช้ ทรง นำหน้าคำกิริยาสามัญบางคำ ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น
ทรงวิ่ง ทรงยินดี ทรงอธิบาย ทรงยิง ทรงสั่งสอน ทรงเล่น
๒.๓ ใช้ ทรง นำหน้าคำนามราชาศัพท์บางคำ ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น
ทรงพระราชดำริ (คิด) ทรงพระราชนิพนธ์ (แต่งหนังสือ) ทรงพระอักษร (อ่าน, เขียน, เรียน) ทรงพระสรวล
๓. การใช้คำ "พระบรม" "พระราช" "พระ"
๓.๑ คำ พระบรม, พระบรมราช ใช้นำหน้าคำนามที่สำคัญที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น เช่น
พระบรมราโชวาท พระบรมมหาราชวัง พระบรมฉายาลักษณ์ พระปรมาภิไธย พระบรมราชวโรกาส พระบรมราชโองการ
๓.๒ คำ พระราช ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถและอุปราช เช่น
พระราชหัตถเลขา พระราชโทรเลข พระราชปฏิสันถาร พระราชเสาวนีย์
๓.๓ คำพระ ใช้นำหน้าคำที่เรียกอวัยวะ เครื่องใช้ หรือนำหน้าคำสามัญบางคำที่ไม่มีราชาศัพท์ใช้ เช่น
อวัยวะต่าง ๆ : พระพักตร์, พระเศียร, พระบาท, พระหัตถ์, พระกร
ครื่องใช้ทั่วไป : พระอู่, พระฉาน, พระแกล, พระแท่นทรรทม, พระสุคนธ์
นามอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : พระปรอท, พระโรค, พระเคราะห์, พระบารมี
๔. การใช้คำ "ทรงพระ" หรือ ทรงพระราช" นำหน้าคำนามทั่วไปและคำนามราชาศัพท์ เพื่อทำให้เป็นกริยา เช่น
- ทรงพระราชสมภพ หมายถึง เกิด
- ทรงพระราชนิพนธ์ หมายถึง แต่งหนังสือ
- ทรงพระสรวล หมายถึง หัวเราะ
- ทรงพระพิโรธ หมายถึง โกรธ
- ทรงพระประชวร หมายถึง ป่วย
- ทรงพระดำริ หมายถึง มีดำริ
อ้างอิง : เพลินใจ พฤกษชาติรัตน์ และ นันทพงษ์ พฤกษชาติรัตน์. (ม.ป.ป.). หลักภาษาไทยและการใช้ภาษาไทย. (ม.ป.ท.)
อ้างอิง : เพลินใจ พฤกษชาติรัตน์ และ นันทพงษ์ พฤกษชาติรัตน์. (ม.ป.ป.). หลักภาษาไทยและการใช้ภาษาไทย. (ม.ป.ท.)
ภาษาพูด หมายถึง ถ้อยคำสามัญที่เราพูดกันทั่วไป คำบางคำไม่เหมาะ ไม่เพราะที่จะเป็นภาษาเขียน
ภาษาเขียน หมายถึง ถ้อยคำที่ถือกันว่าสุภาพ เป็นทางการ ยอมรับกันทั่วไป
อ้างอิง : สมศักดิ์ อัมพรวิสิทธิ์โสภา.(ม.ป.ป). หลักและการใช้ภาษาไทย. กรุงเพทฯ : ภูมิบัณฑิตการพิมพ์.
กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์. (๒๕๕๔). แบบเลียนภาษาไทยจากใจครูลิลลี่. กรุงเทพฯ : ณ เพชรสำนักพิมพ์.
เพลินใจ พฤกษชาติรัตน์ และ นันทพงษ์ พฤกษชาติรัตน์. (ม.ป.ป.). หลักภาษาไทยและการใช้ภาษาไทย. (ม.ป.ท.)
สมศักดิ์ อัมพรวิสิทธิ์โสภา.(ม.ป.ป). หลักและการใช้ภาษาไทย. กรุงเพทฯ : ภูมิบัณฑิตการพิมพ์.