การพูด หมายถึง การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง กิริยาอาการต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังรับรู้และเกิดการตอบสนอง
การพูด คือ การสื่อความหมายของมนุษย์โดยการใช้เสียงและกิริยาททางเป็นเครื่องถ่ายทอดความรู้ความคิดและความรู้สึกจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง
งานอาชีพ คือ การกระทำงานตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอันเป็นประโยชน์ เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งก่อให้เกิดผลตอบแทนและรายได้
สรุป การพูดในงานอาชีพ เป็นการสื่อสารโดยใช้การพูด เพื่อนำมาใช้ประโชในการประกอบงานอาชีพของบุคคลผู้มีอาชีพต่าง ๆ
การพูดเป็นการสื่อสารที่สำคัญประการหนึ่งในงานอาชีพ ผู้เรียนจึงควรให้ความสำคัญต่อการพูดเพราะการพูดเป็นสื่อสร้างความเข้าใจระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการชี้แจงและทำความเข้าใจได้สะดวกและรวดเร็ว หากมีศิลปะในการพูดย่อมทำให้เจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในงานอาชีพ โดยทั่วไปผู้พูดมีจุดประสงค์ในการพูดเพื่อแจ้งให้ทราบ ถามให้ตอบ และบอกให้ทำ ในบางครั้งผู้พูดอามีจุดประสงค์หลายอย่างในการพูดแต่ละครั้ง ผู้พูดจึงจำเป็นที่จะต้องมีวาทศิลป์ในการพูดเพื่อให้การพูดแต่ละครั้งบรรลุตามจุดมุ่งหมาย
อ้างอิง : สุภัค มหาวรากร และ นิธิอร พรอำไพสกุล. (๒๕๖๒). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ. นนทบุรี : บริษัท สำนักพิมพ์เอ็มพันธ์ จำกัด.
อ้างอิง : เรื่องอุไร อินทรประเสริฐ, สุรีพร พูลประเสริฐ และเอนก อัครบัณฑิต. (๒๕๖๒). ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ
ในชีวิตประจำวันการสนทนาเป็นกิจกรรมที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารให้มนุษย์ในสังคมนั้น ๆ เข้าใจกัน เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นและสามารถประกอบกิจกรรมเพื่อดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
การสนทนาคือการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดด้วยการพูดคุยระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปให้เข้าใจแนวคิดของกันและกัน หากมีโอกาสสนทนากับคนต่างอาชีพ ต่างศาสนา ต่างฐานะ ต่างระดับการศึกษา ต่างสภาพทางสังคม ก็จะทำให้ทราบความคิดเห็นที่แตกต่างหรือเหมือนกันได้เป็นอย่างดี
เพราะการสนทนากับบผู้อื่นไมว่าระดับใด เพศใด อาชีพใด หรือฐานะอย่างๆร หากเราเป็นนักฟังที่ดี เป็นคู่สนทนาที่มีจุดมุ่งหมาย ย่อมได้รับความรู้และประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นแน่นอน
เป็นการพูดในการเข้าสังคมโดยเริ่มตั้งแต่ครอบครัว เพื่อนที่ทำงานหรือในการติดต่อกับผู้ที่เราต้องพบในชีวิตประจำวัน เพราะเราไม่สามารถอยู่เพียงลำพังโดยไม่ติดต่อกับผู้อื่นได้
การสนทนากันในหมู่คณะเป็นแนวทางก่อให้เกิดความรักใคร่สามัคคีและมีความเข้าใจกันได้ดีกว่าการไม่พูดคุยกัน ในครอบครัวหรือที่ทำงานอาจเกิดความเข้าใจผิดซึ่งกันและกัน หากได้พูดคุยหรือปรับความเข้าใจกันก็จะทำให้หมดความเคลือบแคลงค้างคาใจกันได้
การสนทนาพูดคุยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นการประสานงานที่ดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เพราะเป็นการสร้างความเข้าใจในความต้องการของบุคคลทั้งสองฝ่ายอย่างรวดเร็วทันใจ
๑.๒.๑ ศิลปะในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคู่สนทนา
ธรรมชาติของคนทุกคนย่อมยึดมั่นในความคิดและพฤติกรรมของตนเองดีกว่าผู้อื่น ดังนั้นคู่สนทนาที่ดีจะต้องขจัดความยึดมั่นในตัวเอง วางใจให้เป็นกลาง ทำจิตใจเพื่อรับฟังความคิดของคู่สนทนา
การสนทนาแต่ละครั้งควรมีบรรยากาศที่แจ่มใส สดชื่น สนุกสนาน ยิ้มแย้ม มีความกระตือรือร้นในการสนทนา
ขณะสนทนาต้องระมัดระวังกิริยาอาการต่าง ๆ ของตนเอง เช่น การนั่ง การยืน การใช้อวัยวะประกอบการพูด การใช้สายตา การใช้น้ำเสียงให้เหมาะสม
คนที่มีอารมณ์ขันถือว่าเป็นคนมีเสน่ห์ในการพูด ทำให้คู่สนทนาได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ศิลปะในการสร้างอารมณ์ขันเป็นพรสวรรค์ของแต่ละบุคคล
ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการคำชมมากกว่าการตำหนิ ดังนั้นในการสนทนาจึงควรหาส่วนดีของเขามาชม แต่ต้องชมด้วยความจริงใจโดยใช้คำพูด ภาษษ กิริยาอาการและน้ำเสียงประกอบด้วย
การสนทนาคู่สนทนาต้องเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังที่ดี ไม่มีใครต้องการสนทนากับผู้ที่แย่งพูดตลอดเวลา ไม่ควรพูดโอ้อวดยกตนข่มท่าน หรือพูดเรื่องส่วนตัวมากเกินไป คู่สนทนาที่ดีต้องมีความอดทนและยอมรับฟังความคิดเห็นของคู่สนทนาด้วยความเต็มใจ
อ้างอิง : พรรณอร ทองช่วง. (๒๕๕๙). ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทยจำกัด.
การอภิปรายเป็นการพูดที่นิยมกันมากในสังคมประชาธิปไตย เป็นการพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและช่วยแก้ปัญหานั้น
การอภิปรายเป็นกิจกรรมที่จัดให้บุคคลได้มีโอกาสพบปะกันอย่างมีจุดมุ่งหมายและมีระเบียบแบบแผน การอภิปรายจึงมีความสำคัญหลายด้าน ดังนี้
การจัดกิจกรรมการรียนการสอน การอภิปรายเป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดความคิดร้างสรรค์ ตลอดจนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
การอยู่รวมกันในสังคมสมาชิกจะต้องยอมรับความคิดเห็นของสมาชิกส่วนใหญ่เป็นหลักในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล
การอภิปรายเป็นสิ่งจำเป็นและมีบทบาทสำคัญในสังคมประชาธิปไตยโดยนักการเมืองจะใช้การอภิปรายตั้งแต่เริ่มต้นหาเสียงจนกระทั่งเข้าไปนั่งทำงานในสภา
ศาสนาทุกศาสนามีหลักคำสอนที่คล้ายกัน แต่การตีความในทางศาสนามีหลากหลายจึงต้องมีการอภิปรายเพื่อชี้แจงแสดงเหตุผลให้ทุกฝ่ายยอมรับ
การอภิปรายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องร่วมกันหาข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาและแก้ปัญหาให้ดีที่สุด
การอภิปรายโดยทั่วไปมักเป็นการอภิปรายที่มีระเบียบแบบแผน โดยมีการเตรียมหัวข้ออภิปราย เชิญผู้อภิปรายไว้ก่อนล่วงหน้าจึงมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนดังนี้
๑. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และประสบการณ์อย่างมีเหตุผล
๒. เพื่อหาข้อสรุป ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งและนำไปสู่การแก้ปัญหานั้นอย่างถูกต้อง
๓. เพื่อเผยแพร่ความรู้หรือความความก้าวหน้าทางวิชาการให้สาธารณะชนทราบ
๔. เพื่อให้ผู้อภิปรายเข้าใจหลักการแสดงความคิดเห็นแบบประชาธิปไตย
๕. เพื่อให้ผู้อภิปรายเข้าใจหลักการปฏิบัติตนร่วมกัน
๖. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลได้แสดงออกทางเหตุผลตามสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย
การอภิปรายจะดำเนินไปด้วยดีและเกิดประโยชน์แท้จริงทุกฝ่ายควรต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้
๑. การอภิปรายเป็นการใช้ความคิดร่วมกันกับผู้อื่นเพื่อหาคำตอบ โดยมีขั้นตอนดังนี้
(๑) ทำความเข้าใจปัญหา
(๒) แยกแยะประเด็นปัญหา
(๓) เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ
(๔) เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
๒. การอภิปรายจำเป็นต้องมีผู้นำอภิปรายเพื่อคอยกำกับให้การแสดงความคิดตรงตามประเด็นและอยู่ในกรอบที่ต้องการ ผู้นำอภิปรายต้องคอยกระตุ้นให้ผู้อภิปรายแสดงความคิดเห็น ควบคุมให้ผู้อภิปรายแสดงความคิดเห็นในกรอบเวลาที่กำหนด ไม่ให้ผู้อภิปรายผูกขาดการพูดเพียงฝ่ายเดียว
๓. ผู้อภิปรายอาจเปลี่ยนความคิดเห็นของตนได้ ขึ้นอยู่กับเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ได้ฟังจากผู้ร่วมอภิปรายที่แสดงออกมาให้ปรากฎ
๔. การอภิปรายควรมีการเตรียมข้อมูลก่อนล่วงหน้าเพื่อให้ผู้อภิปรายได้พิจารณาร่วมกัน
๕. การอภิปรายต้องใช้ความสามารถในการพูดและการฟังเป็นพิเศษ ในด้านการพูดผู้อภิปรายต้องแสดงความคิดเห็นของตนอย่างสุภาพและตรงประเด็น ในด้านการฟังผู้อภิปรายต้องฟังคำพูดของผู้ร่วมอภิปรายคนอื่น ๆ โดยใช้ความคิดอยู่ตลอดเวลา
๑. เปิดโอกาสให้ผู้เซี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้เผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชน
๒. เป็นการแสดงความก้าวหน้าของวิชาการในสาชาต่าง ๆ ให้กลุ่มผู้สนใจได้เรียนรู้และรับทราบ
๓. นำวิธีการอภิปรายไปใช้ในการประชุม ปรึษาหารือวางแผน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ของหน่วยงาน
๔. นำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อฝึกให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้ารู้จักใช้เหตุผล และรู้จักวิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่น
๕. เปิดโอกาสให้บุคคลต่าง ๆ ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
อ้างอิง : พรรณอร ทองช่วง. (๒๕๕๙). ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทยจำกัด.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ ๒๕๔๒ (๒๕๔๒ ) ให้ความหมายว่า "โทรศัพท์" หมายถึง ระบบโทรคมนาคม ซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็นเครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนำโยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญจากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า โทรศัพท์ หมายถึง ระบบการสื่อสารที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้พูดติดต่อถึงกันได้โดยไม่จำกัดระยะทาง ปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทที่ทำหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับโทรศัพท์และการสื่อสารคอยดูแลและพัฒนาระบบโทรศัพท์ให้เป็นช่องทางการส่งสารที่มีประสิทธิภาพ ในการติดต่อสื่อสารธุระการงานต่าง ๆ จึงมีผู้นิยมใช้โทรศัพท์เป็นสื่อในการพูดคุยกันมาก การสื่อสารทางโทรศัพท์ต่างจากการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่เฉพาะหน้ากัน ที่สำคัญคือการใช้อวัจนภาษาประกอบการพูด ใช้ได้อย่างเดียวคือ น้ำเสียงของผู้พูดเท่านั้น ผู้พูดจึงต้องคำนึงถึงการเปล่งเสียงพูด ให้ค่อนข้างช้าและชัดเจนกว่าการพูดตามปกติ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเสมือนการพูดต่อหน้าผู้ฟัง
หลักการรับโทรศัพท์มีขั้นตอนที่พึงปฏิบัติ ดังนี้
๑. เตรียมพร้อมด้วยการเตรียมกระดาษ ดินสอ หรือปากกาไว้ใกล้มือ เผื่อมีข้อความที่สำคัญต้องจดบันทึกไว้ช่วยจำได้ทันที
๒. รีบรับโทรศัทพ์ทันที่ที่ได้ยินเสียงกริ่ง และไม่ควรปล่อยให้ดังนานเกิน ๓ ครั้ง
๓. กล่าวทักทายตามธรรมเนียมที่ดีงามของไทยด้วยคำว่า"สวัสดี
๔. แสดงตัวในการตอบรับด้วยการกล่าวชื่อผู้รับ ถ้าเป็นโทรศัพท์ของหน่วยงานให้กล่าวชื่อผู้รับและสถานที่ทำงานตัวย เพื่อบอกให้ผู้โทรว่าเขาได้ต่อโทรศัพท์มาถูกต้องหรือไม่
๕. รับฟังเรื่องราวทั้งหมดด้วยความสนใจและตั้งใจ พยายามจับจุดประสงค์ในการพูดธุระให้ได้ว่าพูดเรื่องอะไร จะให้ทำอะไร ทำอย่างไร เมื่อไร ที่ไหน เป็นต้น
๖. แสดงการรับรู้ ขณะที่ฟังไม่ควรนิ่งเงียบโดยไม่พูดอะไร ควรพูดตอบรับเพื่อแสดงความเข้าใจ และกำลังฟังอย่างสนใจ โดยใช้คำสั้น ๆ ตัวอย่าง ค่ะ ครับ หรือ ครับ อ๋อ
๗. ในการตอบรับโทรศัพท์ จะต้องตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินการพูดกิจธุระนั้นด้วยตนเอง ควรปฏิบัติดังนี้
(ก) ต้องรู้ว่ากำลังพูดอยู่กับใคร ต้องการติดต่อเรื่องอะไร
(ข) จดบันทึกรายละเอียดให้ถูกต้องครบถ้วน
(ค) ให้คำตอบแก่ผู้ที่โทรมาอย่างถูกต้องชัดเจน
(ง) ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่โทรมาเท่าที่จะทำได้ด้วยความจริงใจ
(จ) ถ้าต้องการให้ผู้ที่โทรมารอสาย ควรอธิบายสาเหตุให้ชัดเจนว่า ต้องไปทำอะไรใช้เวลานานแค่ไหน อาจเสนอความเห็นว่าจะขัดข้องไหม ถ้าได้ข้อมูลแล้วจะโทรกลับไปหา
(๒) ต้องโอนสายให้ผู้อื่นเพื่อดำเนินการต่อ ควรปฏิบัติดังนี้
(ก) บอกผู้ที่โทรมาให้ทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร อธิบายเหตุผลให้ชัดเจน
(ข) หาหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่จะต้องโอนสายไปให้ แล้วโอนสายไปอย่างถูกต้อง
(ค) เมื่อโอนได้แล้ว ให้บอกชื่อผู้ที่โทรมาพร้อมจุดประสงค์ที่ต้องการติดต่อ
(๓) รับข้อความให้ผู้อื่นเมื่อบุคลที่ผู้โทรศัพท์ต้องการพูดด้วยไม่อยู่หรือไม่สามารถรับสายได้ ควรปฏิบัติดังนี้
(ก) เสนอให้การช่วยเหลือหรือรับฝากข้อความ
(ข) การจดบันทึกข้อความ ให้บันทึรายละเอียดให้ขัดเจน เช่น ชื่อผู้โทร ตำแหน่ง หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์ จดเวลาในขณะที่รับโทรศัพท์ จุดประสงค์และรายละเอียดของข้อมูล ต้องการให้โทรกลับหรือไม่ เป็นต้น
(ค) ก่อนจบการสนทนาควรทบทวนข้อความที่บันทึก เพื่อให้แน่ใจว่าถูกต้อง
(ง) ส่งบันทึกข้อความไปยังคนที่ผู้โทรต้องการติดต่อด้วย
๘. จบการสนทนา จบการสนทนาด้วยคำว่า "สวัสดี" รอให้ผู้โทรมาวางหูก่อน แล้ววางหูโทรศัพท์เบา ๆ
มารยาทในการรับโทรศัพท์ มีดังนี้
๑. พูดด้วยน้ำเสียงสุภาพ ชัดเจน
๒. ใช้ถ้อยคำสุภาพ เช่น ขอโทษ ขอบคุณ ขอความกรุณา โปรดช่วย เป็นต้น
๓. ใช้คำพูดกะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ
๔. ไม่พูดเรื่องไร้สาระ เรื่องที่เป็นความลับ
๕. ไม่ใช้โทรศัพท์ของผู้อื่นนานจนเกินไป
๖. ไม่กระแทกเครื่องโทรศัพท์
๗. ถ้าต่อโทรศัพท์ผิดต้องกล่าวคำ "ขอโทษ" ทุกครั้ง
๘. ต้องแน่ใจว่าธุระการงานที่โทรติดต่อกันรู้เรื่องเข้าใจแล้ว จึงค่อยจบการสนทนา
๙. ควบคุมอารมณ์ขณะพูดคุยทางโทรศัพท์เพื่อให้การติดต่อกิจธุระนั้นสัมฤทธิผล
การสัมภาษณ์เป็นการพูดที่มุ่งผลทางธรกิจ คือ ผู้สัมภาษณ์จะได้รับความรู้ ความคิดเห็นจากผู้ให้สัมภาษณ์เพื่อนำไปใช้ในประโยชน์ต่าง ๆ การสัมภาษณ์ประกอบด้วยบุคคล ๒ ฝ่าย คือ ผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์
ผู้สัมภาษณ์ คือ ผู้ที่ต้องการทราบเรื่องราวความคิดเห็น ความรู้จากอีกฝ่ายหนึ่ง ผู้สัมภาษณ์อาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ ผู้ให้ความรู้เรื่องราวความคิดเห็นต่าง ๆ โดยปกติผู้ให้สัมภาษณ์มักมีคนเกียว แต่บางครั้งอาจมีหลายคนก็ได้
แม้การตั้งจุดมุ่งหมายในการสัมภาษณ์เป็นของฝ่ายผู้ขอสัมภาษณ์ แต่การเตรียมตัวในการสัมภาษณ์ควรมีทั้งสองฝ่าย เพื่อให้การสัมภาษณ์ได้ผลดียิ่งขึ้น
(๑) กำหนด วัน เวลา สถานที่ให้สัมภาษณ์โดยคำนึงถึงความสะดวกของทั้งสองฝ่าย
(๒) แจ้งจุดมุ่งหมายในการสัมภาษณ์ให้ผู้ให้สัมภาษณ์ทราบล่วงหน้า
(๓) วางแนวเรื่องที่จะสัมภาษณ์ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้
(๔) ไม่ก้าวก่ายขอสัมภาษณ์เรื่องส่วนตัวหากผู้ให้สัมภาษณีไม่เต็มใจตอบก็อย่ารุกเร้า
(๑) แม่นยำในวันกำหนดนัดสัมภาษณ์
(๒) เตรียมตอบคำภามให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
(๓) ศึกษาข้อมูลเรื่องที่จะทำให้สัมภาษณ์ให้เข้าใจ และให้สัมภาษณ์อย่างมีไมตรีจิต
๑. ตั้งคำถามให้ชัดเจน เข้าใจง่าย
๒ ต้องใช้ภาษาที่สุภาพ เช่น ขอประทานโทษ ขอเรียนถาม กรุณาเล่า ฯลฯ
๓. รักษาเวลาในการสัมภาษณ์
๔. จัดสถานที่และเครื่องอำนวยความสะดวกในการสัมภาษณ์ไห้พร้อม
การสัมภาษณ์งาน หมายถึง การสนทนาระหว่างบุคคล ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือผู้สัมภาษณ์ อีกฝ่าย คือ ผู้ให้สัมภาษณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเข้าทำงาน
๑. แบบไม่เป็นพิธีการ คือการสัมภาษณ์ที่ไม่ต้องตรียมการมากนัก เพียงแต่ตั้งจุดประสงค์และตั้งคำถามไว้ล่วงหน้า ใช้สัมภาษณ์ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ เช่น การสัมภาษณ์นักการเมือง ดารานักร้อง นักกีฬาในงานต่าง ๆ เป็นต้น
๒. แบบเป็นพิธีการ คือ การสัมภาษณ์ที่มีหลักเกณฑ์ ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เช่น ตั้งจุดประสงค์ เตรียมคำถาม เวลา และสถานที่ในการสัมภาษณ์ เป็นตัน
คำถาม คือ หัวใจสำคัญของกาสัมกาษณ์ การสัมภาษณ์จะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการตั้งคำถาม คำถามที่ดีควรชัดเจน สุภาพ ไม่สร้างความอึดอัดให้กับผู้ให้สัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์จึงควรศึกษาลักษณะของคำถาม ดังนี้
คือ คำถามที่เปิดโจกาสให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เหมาะสำหรับการสัมภาษณ์เรื่องทั่ว ๆ ไป เช่นคุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ ๓๐๐ บาท ทั่วประเทศ
คือ คำถามที่ผู้ถามต้องการคำตอบเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ต้องการคำตอบสั้น ๆ โดยไม่ต้องการคำอธิบาย ข้อดีของคำถามปลายปิด คือ เพื่อให้สามารถสัมภาษณ์คนจำนวนมากได้โดยใช้เวลาไม่มาก และมีความคงที่ในการตั้งคำถามกับคนจำนวนมาก ลักษณะคำตอบของคำถามปลายปิด มักจะให้เลือกตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ หรือกำหนดประเด็นที่ต้องการให้ตอบเพียงเรื่องเดียวหรือเลือกอย่างไดอย่างหนึ่ง เช่น คุณเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงชั้นต่ำ ๓๐๐ บาทหรือไม่
การพูดให้สัมภาษณ์ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์เพื่อเข้าศึกษาต่อเพื่อสมัครเข้าทำงาน หรือเรื่องใดก็ตาม ผู้ให้สัมภาษณ์ควรปฏิบัติดังนี้
๑. พูดชัดถ้อยชัดคำ ไม่เอามือป้องปากขณะพูดเพราะจะทำให้ดูไม่มั่นใจ
๒. พูดสั้น ๆ เฉพาะสาระสำคัญ พร้อมเหตุผลสนับสนุนคำตอบ
๓. พูดจาโต้ตอบไปตามธรรมชาติ หากตื่นเต้นให้พูดช้า ๆ ระมัดระวัง จนกว่าจะผ่อนคลาย การพูดเร็วจะทำให้พูดผิดได้ง่ายหรือเปิดเผยเรื่องที่ไม่ตั้งใจพูดได้
๔. พูดให้มีระดับเสียงสูงต่ำ เน้นเสียหนักเบาให้น่าสนใจ มีชีวตชีวา น้ำเสียงสุภาพน่าฟัง
๕. ต้องระมัดระวังการพูดถึงงานอดิเรกหรืองานพิเศษในการให้สัมภาษณ์สมัครงาน เพราะอาจทำให้ผู้สัมภาษณ์เข้าใจผิดว่าสนใจงานอดิเรกมากกว่างานประจำ
๖. ไม่ใช้เวลาคิดหาคำตอบนานเกินไป เพราะจะทำให้ดูไม่จริงใจ หากตอบไม่ได้ให้บอกไปตรง ๆ ไม่ควรอ้อมค้อม หรือตอบผิด ๆ เพราะจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ
การรับเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนมากจะมีการสอบคัดเลือกเพื่อหาบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน โดยจัดสอบทั้งข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ ผู้จะสอบสัมภาษณ์ต้องเตรียมตัวให้พร้อม จะได้เข้ารับการสัมภาษณ์ด้วยความมั่นใจ ดังนี้
๑. สอบถาม วัน เวลา สถานที่สอบให้ถูกต้อง ชัดเจน ควรไปดูสถานที่ก่อนถึงวันสัมภาษณ์จริง หรือไปถึงสถานที่สัมภาษณ์ก่อนเวลานัดหมาย
๒. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน องค์กร หรือบริษัทที่สมัครเข้าทำงานให้มากที่สุด
๓. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงานที่สมัครว่าจะต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง
๔. หาความรู้รอบตัวเกี่ยวกับข่าวสารบ้านมืองที่กำลังอยู่ในความสนใจของคนในสังคม
๕. เตรียมตัวให้พร้อม สร้างบุคลิกให้ดูดีเป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้พบเห็นต้องดูแลเสื้อผ้า หน้า ผมให้เหมาะสมกับบุคลิกและสุภาพเรียบร้อย ผู้สมัคงานที่จบใหมไม่ควรแต่งชุดนักศึกษาไปสัมภาษณ์งาน
มารยาทในการปฏิบัติตัวระหว่างสัมภาษณ์ มีดังนี้
๑. เมื่อถูกเรียกให้ข้ไปรับการสัมภาษณ์ ควรแสดงความเคารพด้วยการไหว้ และกล่าวคำว่า "สวัสดี" กับผู้สัมภาษณ์ตามมารยาทไทย
๒. นั่งลงเมื่อได้รับอนุญาต
๓. ระหว่างสัมภาษณ์ต้องตั้งใจฟังคำถาม และตอบคำถามทุกช้อย่างชัดเจนแต่ไม่พูดมากเกินความจำเป็น และถ้าไม่รู้ก็ให้บอกตรง ๆ อย่าอ้อมค้อม
๔. หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
๕. แสดงความกระตือรือรั้น พูดเสียงดังฟังชัด
๖.เมื่อจบการสัมภาษณ์ควรกล่าวขอบคุณผู้สัมภาษณ์ แล้วกล่าวอำลาด้วยคำว่า "สวัสดี" พร้อมกับยกมือไหว้อย่างสุภาพ
อ้างอิง : พรรณอร ทองช่วง. (๒๕๕๙). ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทยจำกัด.
อ้างอิง : อมรรัตน์ ฉายศรี. (๒๕๖๑). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทยจำกัด.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒๕๔๖ : ๑๑๗๔)ให้ความหมายว่า สาธิต หมายถึง แสดงเป็นตัวอย่าง / นวภรณ์ อุ่นเรือน (ม.ป.ป. : ๑๗) ให้ความหมายว่า การพูดสาธิต หมายถึง กาพูดบรรยาย หรืออธิบายที่มีการแสดงให้เห็นขั้นตอน หรือกระบวนการในการปฏิบัติงาน การใช้เครื่องมือ การทดลองต่าง ๆ ฯลฯ ให้ผู้ชมเห็นอย่างขัดเจนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น จากความหมายตดังกล่าวสรุปได้ว่า การพูดสาชิดหมายถึง กาพูดอธิบายขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พร้อมทั้งใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประกอบการพูดให้เห็นเป็นตัวอย่าง
การพูดสาธิต มีจุดประสงค์ที่สำคัญ ดังนี้
การพูดอธิบายหรือบรรยายขั้นตอนการปฏิบัติหรือกระบวนการทำงานบางเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หากผู้พูดใช้วิธีสาธิตจะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย ได้เร็ว และสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องนิยมนำมาใช้เป็นกิจกรรมการรียนการสอน ช่น สาธิตการต่อวงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ สาธิตกระบวนการทำงานของเครื่องยนต์
การพูดสาธิตเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงการธุรกิจวิธีหนึ่ง การโฆษณาสินค้าด้วยการสาธิตจะทำให้ผู้บริโภครู้จักสินค้า เห็นถึงประสิทธิภาพ และประโยชน์ของสินค้าจนเกิดความพอใจและตัดสินใจซื้อในที่สุด
การพูดสาธิต มีหลักการพูด ดังนี้
๑. กล่าวทักทายผู้ฟัง กล่าวทักทายผู้ฟังโดยพิจารณาตามความเหมาะสม โดยทั่วไปใช้คำว่า "สวัสดี"
๒. บอกเรื่องและบอกจุดประสงค์ที่จะพูด บอกเรื่องและบอกจุดประสค์ที่จะพูดเพื่อสร้างความสนใจ และแจกเอกสารประกอบการสาธิต (ถ้ามี)
๓. บอกรายการสิ่งของที่ต้องใช้และปริมาณที่แน่นอน บอกรายการสิ่งของที่ต้องใช้และปริมาณที่แน่อนอาจบอกแหล่งที่มาของสิ่งของด้วยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ฟังที่สนใจจะไปซื้อหา
๔. พูดเรียงตามลำดับขั้นตอน พูดเรียงตามลำดับขั้นตอนอย่างละเอียดชัดเจน พรัมกับลงมือปฏิบัติช้า ๆ อาจทำซ้ำถ้าผู้ฟังไม่เข้าใจ
๕.ใช้ภาษาพูดง่าย ๆใช้ภาษาพูดง่าย ๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้ศัพท์วิชาการหรือศัพท์เฉพาะ ต้องอธิบายความหมายให้ชัดเจน
๖. ใช้ภาษาที่กระชับ รัดกุมใช้ภาษาที่กระชับ รัดกุมไม่พูดอารัมภบทยืดยาวหรือวกวน
๗. อาจใช้ตัวเลข แผนภูมิ กราฟ ตาราง ประกอบการอธิบาย เพื่อให้เกิดความซัดเจนยิ่งขึ้น
๘. สรุป สรุปจบด้วยการบอกประโยชที่ผู้ฟังจะได้รับ
๙. กล่าวคำอำลา กล่าวคำอำลาตามความเหมาะสม
ผู้สาธิตจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ดังนี้
๑. มีความรู้ในเรื่องที่พูดเป็นอย่างดี สามารถใช้เครื่องมือประกอบการพูดได้คล่องแคล่ว
๒. มีบุคลิกดี มีความเชื่อมั่นในตนอง แต่งกายสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะ
๓. ลำดับขั้นตอนการพูดได้เหมาะสม ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
๔. มีทักษะในการใช้ภาษา สามารถอธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายได้
๕. ให้ความสนใจผู้ฟังอย่างทั่วถึง ด้วยการใช้สายตากวาดมองไปรอบ ๆ
๖. สามารถตอบคำถามของผู้ฟังได้อย่างละเอียดชัดเจน
๗. สร้างบรรยากาศการพูดให้เป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด
อ้างอิง : อมรรัตน์ ฉายศรี. (๒๕๖๑). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทยจำกัด.
ภายในองค์กร ผู้นำ คือ ผู้มีความสามารถ มีทักษะหรือประสบการณ์ในงานนั้น ๆ ผู้นำที่มีคุณลัษณะของการเป็นผู้นำมักได้รับเชิญให้เป็นพิธีกรในโอกาสต่าง ๆ เสมอ โดยพิธีกรจะทำหน้าที่ดำเนินรายการเป็นเจ้าของเวที และทำหน้าที่กำกับรายการ
เทคนิคการสร้างความชื่อมั่นของผู้ที่ทำหน้เป็นพิธีกรนั้นสามารถทำได้ดังนี้
๑. มีการตรียมการที่ตี โดยหาข้อมูลของงานที่จัดขึ้น ดูกำหนดการของงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด เตรียมคำพูดที่จะใช้ในงานนั้น ๆ และซักซ้อมล่วงหนัา
๒. ตระหนักว่าจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
๓. ทำความคุ้นเคยกับเวที เพื่อสร้างความมั่นใจ
๔. สูดลมหายใจยาว ๆ ลึก ๆ ดื่มน้ำเล็กน้อย
๕. พูดให้รวบรัด ชัดเจน พิถีพิถัน และแม่นยำขั้นตอน
บุคลิกภาพของพิธีกรเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นโดยต้องมีองค์ประกอบดังนี้
๑. รูปกายดี รูปร่างเป็นจุดแรกที่จะทำให้ประทับใจจึงควรมีรูปร่างสมส่วนน่ามอง ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า
๒. การแต่งกายดี เสื้อผ้าช่วยเสริมบุคลิกได้ จึงต้องสะอาดเรียบร้อยเหมาะแก่เวลา โอกาสสถานที่ และบุคลิกของผู้สวมใส่
๓. กิริยาท่าทางดี กิริยาบอกสกุลว่าอยู่ในระดับหรือฐานะไหนจึงต้องระมัดระวังในการใช้สายตา สีหน้า การยืน การนั่ง การเดิน การทรงตัว การใช้มือ และมีความกระตือรือร้นในการสื่อสาร
๔. จิตใจดี เมื่อจิตใจภายในคิดดี การกระทำภายนอกก็จะดีตามไปด้วย การพูดจึงต้องดูสุขุมเยือกเย็น เป็นมิตร และร่าเริง
อาจารย์จตุพล ชมภูนิช เคยกล่าวว่า "ลักษณะพิเศษของพิธีกร คือ ต้องรู้จักสำรวมท่าทาง พิถีพิถันในคำพูด พูดแต่พอดี ไม่มีโอหัง"
พิธีกรที่ดีควรมีหน้าที่ดังนี้
๑. จัดลำดับพิธีการงานนั้น ๆ
๒. ทำความเข้าใจในรายการตามลำดับงาน
๓. ต้องมาก่อนงานเพื่อตรวจสอบความพร้อม
๔. สังเกตและวิเคราะห์บรรยากาศและจุดมุ่งหมายของงาน
๕. ประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องไว้ล่วงหน้า
๖. ทักทายบุคคลที่อยู่ในงาน
๗. อย่าทิ้งเวที มีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
๘. สนใจรายการที่จะเริ่ม
๙. เตรียมทุกอย่างให้พร้อมตามลำดับรายการโดยเฉพาะบุคคล
๑๐. ควบคุมเวลาให้เป็นไปตามกำหนดการ
๑๑. ยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเอง
๑๒. เยือกเย็น สุขุม ดูแลความเรียบร้อยตลอดงาน
พิธีกรที่ดีควรพูดดังนี้
๑. พูดแต่พอดี
๒. ให้เกียรติทุกคน
๓. ไพเราะนิ่มนวล
๔. อักขระถูกต้อง ร, ล ควบกล้ำ
๕. น้ำเสียงเชื่อมั่น พูดเป็นธรรมชาติเป็นตัวของตัวเอง
๖. ท่าทางกลมกลืน
๗. สร้างมิตรภาพ ความประทับใจ
๘. ไม่หยิ่ง ยโส โอหัง
๙. มีอารมณ์ขัน
อ้างอิง : พรรณอร ทองช่วง. (๒๕๕๙). ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทยจำกัด.
พรรณอร ทองช่วง. (๒๕๕๙). ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทยจำกัด.
เรื่องอุไร อินทรประเสริฐ, สุรีพร พูลประเสริฐ และเอนก อัครบัณฑิต. (๒๕๖๒). ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ
สุภัค มหาวรากร และ นิธิอร พรอำไพสกุล. (๒๕๖๒). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ. นนทบุรี : บริษัท สำนักพิมพ์เอ็มพันธ์ จำกัด.
อมรรัตน์ ฉายศรี. (๒๕๖๑). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทยจำกัด.